• การตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศทั่วไป ที่มีขนาดอนุภาคตั้งแต่ 100 ไมครอนลงมา(Suspended Particulate ;TSP) หรือขนาดฝุ่นละอองที่มีขนาดอนุภาคตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา (PM10)ในช่วงระยะเวลาการตรวจวัด
24 ชั่วโมง
โดยรายงานค่าความเข้มข้นเป็นหน่วยน้ำหนักต่อปริมาตรอากาศที่สภาวะมาตรฐาน 25
องศาเซลเซียส 760 มิลลิเมตรปรอท
• การเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองที่มีขนาดอนุภาคตั้งแต่ 100 ไมครอนลงมา(TSP)โดยใช้เครื่องมือเก็บตัวอย่างชนิด
High Volume Air Sampler ตัวอย่างอากาศจะถูกดูดผ่านหัวคัดเลือกขนาดฝุ่น
(Size Selective Inlet) แบบ Peak Roof Inlet ด้วยอัตราระหว่าง 40-60
ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (1,140-1,698 ลิตรต่อนาที) เป็นเวลา 24 ชั่วโมง (±1
ชั่วโมง) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอนุภาคฝุ่นละอองที่มีขนาดอนุภาคตั้งแต่ 100
ไมครอนลงมาจะติดตรึงอยู่บนกระดาษกรองชนิด Glass Fiber Filter ที่มีขนาด
20.3 เซนติเมตร × 25.4 เซนติเมตร (8 นิ้ว ×10 นิ้ว)
ซึ่งผ่านการชั่งน้ำหนักมาแล้ว
จากนั้นนำมาหาปริมาณฝุ่นละอองโดยวิธีการหาค่าความแตกต่างของน้ำหนักกระดาษกรองระหว่างก่อนและหลังการเก็บตัวอย่าง
แล้วคำนวณหาค่าความเข้มข้นเป็นหน่วยน้ำหนักต่อปริมาตรอากาศที่สภาวะมาตรฐาน
25 องศาเซลเซียส 760 มิลลิเมตรปรอท
• การเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองขนาดตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา(PM-10)โดยใช้
High Volume Air Sampler และหัวคัดเลือกขนาดฝุ่นละอองขนาดตั้งแต่ 10
ไมครอนลงมา (Size Selective Inlet)
ชักตัวอย่างโดยการสูบอากาศผ่านส่วนหัวคัดเลือกขนาดฝุ่นละออง
แล้วผ่านกระดาษกรองด้วยอัตรา 1.132 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (40
ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที) เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ที่ความสูงของช่องชักตัวอย่าง 1.5
- 6.0 เมตรจากพื้น แล้ววิเคราะห์ปริมาณฝุ่นละอองบนกระดาษกรองด้วยวิธี Pre
and Post Weight Difference แล้วจึงคำนวณปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กเฉลี่ย 24
ชั่วโมงที่สภาวะมาตรฐาน (25 องศาเซลเซียส 760 มิลลิเมตรปรอท)